ฝุ่นละอองและมลภาวะในอากาศ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีการใช้ยานพาหนะที่เป็นบ่อเกิดของฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 รวมถึงการก่อสร้างต่างๆ หรือแม้แต่บางจังหวัดในประเทศไทยที่มีการเผาป่า เผาไร่ ก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิด PM 2.5 เช่นกัน
นอกจากฝุ่น PM 2.5 จะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของร่างกายแล้ว ยังส่งผลต่อผิวหนังของเราอีกด้วย
จากบทความเรื่อง PM 2.5 กับผลกระทบทางผิวหนัง ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.พญ. รังสิมา วณิชภักดีเดชา ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดกับผิวหนังมี 2 ระยะดังนี้
- ผลกระทบแบบเฉียบพลัน
ฝุ่นละออง PM 2.5 สามารถทำลายเซลล์ผิวหนังกำพร้าของมนุษย์โดยตรง ทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง ระคายเคืองที่ผิวหนัง อีกทั้งยังสามารถจับตัวกับสารเคมีและโลหะต่างๆ และนำพาเข้าสู่ผิวหนัง มีผลทำร้ายเซลล์ผิวหนัง และกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบของเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นคันที่ผิวหนัง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคผิวหนังเดิมอยู่แล้ว เช่น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นผิวหนังอักเสบ สะเก็ดเงิน สิว ผมร่วง จะทำให้มีการระคายเคือง คันมากขึ้น ผื่นกำเริบมากขึ้นได้ ซึ่งจากการทดลองพบว่า ระยะเวลาของการสัมผัส ฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ที่มีต่อเซลล์ผิวหนังมนุษย์อยู่ที่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป - ผลกระทบแบบเรื้อรัง
การสัมผัสกับฝุ่นละออง PM 2.5 อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผิวเสื่อมชราได้เร็วยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากปัจจัยด้านการถูกแสงแดดและการสูบบุหรี่ งานวิจัยพบว่าฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่สามารถส่งผลร้ายต่อเซลล์ผิวหนังมนุษย์ทั้งในกระบวนการสร้างเซลล์ซึ่งส่งผลต่อภาวะความชราของผิวหนังรวมถึงจุดด่างดำบนชั้นผิวหนังด้วยโดยพบว่ามีการเกิดจุดด่างดำบริเวณใบหน้าเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีการเกิดริ้วรอยบริเวณร่องแก้มมากขึ้นด้วย และยังพบว่าการทำงานในระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังลดลงด้วยเช่นกัน
ฝุ่น PM 2.5 เราอาจจะมองไม่เห็น แต่กลับมีผลกระทบต่อผิวหนังได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นการปกป้องผิวหนังให้สัมผัสกับฝุ่นดังกล่าวให้น้อยที่สุด จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่มีโรคผิวหนังอยู่เดิม เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกำเริบมากยิ่งขึ้น
การดูแลและปกป้องผิวจากฝุ่น PM 2.5
- ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่น PM 2.5
- ควรงดเว้นการออกไปในบริเวณที่มีปริมาณฝุ่นมลพิษปริมาณมาก หรือสัมผัสให้สั้นที่สุด
- ใส่เสื้อผ้าปกคลุมร่างกาย การทาโลชั่นหรือครีมที่มีสารป้องกันมลภาวะ
- การชะล้างทำความสะอาดผิวหนังทันทีหลังจากกลับมาจากข้างนอก
ฝุ่นมลพิษ PM 2.5 อาจเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราป้องกันได้ เนื่องด้วยปัจจุบันมีครีมบำรุงที่มีส่วนประกอบที่ช่วยเป็นเกราะเคลือบผิวไม่ให้สัมผัสฝุ่นพิษนี้โดยตรง ก็จะเป็นตัวช่วยให้ผิวไม่ถูกทำร้ายจากฝุ่นพิษนี้ได้
ไอเท็มแนะนำช่วยปกป้องผิวจากมลภาวะ
อ้างอิงจาก
https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1368